|
 |
|
 |
|
ประวัติความเป็นมาของตำบลบ้านติ้ว ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่า เริ่มต้นถิ่นฐานมาตั้งแต่เมื่อใด คาดว่าไม่ต่ำกว่า 500 ปี
จากการที่เล่าลือต่อกันมาว่ามีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาจากเวียงหรือกรุงศรีสิตนาคนหุตลงมาทางได้ มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน
ทำไร่นาอยู่ที่พุทธนาเวียง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และได้อพยพติดตามกันมาเรื่อยๆทุกปี ทำให้ผู้คนมากขึ้น ทำให้ที่ทำกินลด น้อยลง
และเป็นเหตุให้อพยพต่อไปอีกโดยข้ามเทือกเขามาทางทิศตะวันตก เพื่อแสวงหาที่ทำกินต่อไป จึงได้พบผืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์มีแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก
จึงได้ตั้งถิ่นฐานขึ้น ครั้งแรกที่บ้านท่าช้างสันนิษฐานว่าคงเดินทางด้วยขบวนช้างเป็นจำนวนมาก จึงได้สร้างวัดท่าช้างขึ้น และปัจจุบันมีรูปช้าง 2 ตัว เข้าประตูวัดท่าช้าง
ต่อจากนั้นก็มีผู้คนมากขึ้นทำให้ที่ทำกินลกน้อยลงอีก ก็จึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานขึ้นอีก ครั้งที่ 2 สันนิษฐานว่าคงมีป่าติ้วอยู่เป็นจำนวนมาก และเมื่อจัดตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นมาแล้ว
จึงเรียนว่าบ้านติ้ว หลักฐานอ้างอิงว่าคนบ้านติ้วบรรพบุรุษร่วมกับคนไทยกับพุทธนาเวียง ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทร์ ด้วยการพูดสำเนียงเดียวกัน เช่น อีเปี๋ยง ปิสัง หมากผาง เหมือนกัน
และการสร้างวัดก็ได้สร้างวัดศรีภูมิ ชาวบ้านเรียกว่าวัดใหญ่ในสมัยนั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2230 ก็ได้พระภิกษุจากเวียงจันทร์มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก จะเห็นได้ว่าจากถาวรวัตถุคือเจดีย์
ซึ่งสร้างจากศรัทธาชาวเวียงจันทร์บรรจุอัฐิของพระครูชาหลักคำ (น้อย) อันเป็นธรรมเนียมสมณศักดิ์ซึ่งปรากฎอยู่ที่วัดศรีภูมิหรือวัดใหญ่ ต่อมาก็มีพระน้องชายชื่อพระครูสังฆราชตามมา
จึงได้ไปสร้างวัดใต้ขึ้นที่อยู่ติดกันกับวัดใหญ่ และมีการสร้างโรงเรียนขึ้นโดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนสังฆราชบำรุง สมัยนั้นเดิมตำบลบ้านติ้วเป็นตำบลห้วยไร่ จากหลักฐานอ้างอิงว่า มีผู้ปกครองเป็นกำนันคนแรก คือ |
|
|
กำนันธรรมกิจ ตำบลห้วยไร่ บ้านท่า หมู่ที่ 8 ปัจจุบัน |
กำนันคนต่อไป |
|
กำนันจิน ตำบลห้วยไร่ บ้านติ้ว หมู่ที่ 3 แยกปัจจุบัน |
กำนันเฉลียว คำคูณ |
|
กำนันเสือ ตำบลห้วยไร่ บ้านใต้หมู่ที่ 3 ปัจจุบัน |
กำนันสุพรรณ สารีคำ |
|
กำนันขุน สร้อยทอง ตำบลห้วยไร่ บ้านทุ่งหมู่ที่ 4 ปัจจุบัน |
กำนันจันทร์ โสดา |
|
กำนันทอง พลกัณฑ์ ตำบลห้วยไร่ |
กำนันบรรจบ ศรีทนานนท์ |
|
กำนันทะ ป้องพั้ง ตำบลห้วยไร่ ก็ได้แยกการปกครองออกเป็นตำบลบ้านติ้วได้แต่งตั้ง |
กำนันหลักทรัพย์ คำโฉม |
|
กำนันพัว ป้องพั้ง เป็นกำนันตำบลบ้านติ้วคนแรก เดิมตำบลบ้านติ้วเป็นตำบลห้วยไร่ |
กำนันแสตม แก้วสาร คนปัจจุบัน |
|
ได้มีการแบ่งเขตด้วยลำห้วยของแก่น ก็เลยให้ตำบลห้วยไร่อยู่ทางเหนือ ทิศใต้เป็นตำบลบ้านติ้วอยู่ทางเหนือ |
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านติ้วตั้งอยู่ในเขตอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ตำบลบ้านติ้ว มีพื้นที่ทั้งหมด 78,663 ไร่ หรือ ประมาณ 125.4 ตารางกิโลเมตร |
|
 |
ระยะทางห่างจากอำเภอหล่มสัก |
8 |
กิโลเมตร |
|
 |
ระยะทางห่างจากจังหวัดเพชรบูรณ์ |
25 |
กิโลเมตร |
|
|
|
 |
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 8,277 คน แยกเป็น |
|
 |
ชาย 4,071 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.18 |
|
 |
หญิง 4,206 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.82 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,595 ครัวเรือน |
ความหนานแน่นเฉลี่ย 66 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
 |
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลห้วยไร่ |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลปากช่อง |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
เทือกเขาเพชรบูรณ์ |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลบ้านหวายและตำบลบ้านโสก |
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น ทำนา, ปลูกยาสูบ, ทำสวน และ
ปลูกพืชผักเป็นอาชีพหลัก อาชีพรองคือ ค้าขายและรับจ้าง |
|
|
 |
|
ตำบลบ้านติ้ว มีสภาพอากาศแบบร้อนชื้น แบ้งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ |
|
 |
ฤดูร้อน |
มีสภาพอากาศค่อนข้างร้อนมาก ถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย |
|
|
|
30 - 35 องศา เซลเซียส ในช่วงเดือน เม.ย. - พ.ค. ของทุกปี |
|
 |
ฤดูฝน |
มีฝนตกชุก ในช่วงเดือน ส.ค. - ก.ย. ของทุกปี ได้รับอิทธิพลจากความ |
|
|
|
กดอากาศสูง พาดผ่านหรือปกคลุม |
|
 |
ฤดูหนาว |
มีสภาพอากาศหนาวเย็น - เย็นจัด อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย ประมาณ |
|
|
|
5 -10 องศา เซสเซียส ในช่วงเดือน ม.ค. - ก.พ. ของทุกปี ได้รับอิทธิพลมาจากความกดอากาศต่ำ (ลมหนาวเย็น) ที่แผ่มาจากประเทศจีนลงมาปกคลุม |
|
|
|
|
|
|